• เพิ่มการแจ้งข่าวสาร
  • เพิ่้มประวัติสมาคม
  • เพิ่มข้อมูลศิษย์เก่าแต่ละรุ่น

อนุบาล  ประถม  มัธยม และมหาวิทยาลัย มากขึ้น ๆ รู้สึกว่า อ๋อเป็นครูนะ ต้องให้ลูกศิษย์นะ ต้องรักห่วงใย เกื้อหนุน อภัย ให้กำลังใจนักศึกษานะ แต่ที่สำคัญคือ ต้องให้ความเคารพนับถือ นักศึกษาที่มีวัยวุฒิ  คุณวุฒิ หรือตำแหน่งหน้าที่การงานตามฐานานุรูปของแต่ละท่านเสมอต้นเสมอปลายด้วยความจริงใจ และงานนี้ละที่จะได้ลูกศิษย์เป็นครูอีกด้วย ยิ่งไปสอนมากทุกหนทุกปห่งก็เป็นบุญตัวที่จะได้มีครูทุกหนทุกแห่ง เวลาว่างจากงานสอนกฎหมาย ท่านผู้ใหญ่ หรือรุ่นพี่ ๆ ก็เอ็นดูเล่าประสบการณ์ให้เราฟัง ได้ความรู้หลากหลายดี

       ผมเป็นอาจารย์ประจำไม่นาน ท่านอธิการบดี ( ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน ) เมตตาให้ไปทำงานในฝ่ายเลขาธิการของสมาคมสุโขทัยธรรมาธิราช ร่วมกับอาจารย์วงศกร เจียมเผ่า ซึ่งทำหน้าที่เป็นเลขานุการของท่านอธิบดีสมัยนั้น เราสองคนเป็นเด็กในกลุ่มท่านผู้ใหญ่ ก็พลอยโชคดีได้เห็นท่านผู้ใหญ่ทำงานไปด้วย แต่จุดที่เราสองคนเห็นตรงกันคือ อยากให้มีชมรมของแต่ละสาขาวิชาหรือเลยไปถึงสมาคมของแต่ละสาขาวิชาไปเลย ทราบจากท่านผู้ใหญ่หลาย ๆ ท่านทั้งของสมาคมและมหาวิทยาลัย คือ เกรงการแตกแยกเป็นสาขาหรือคณะไม่เป็นเอกภาพ คือไม่เป็น มสธ. เดียวกัน ซึ่งก็เป็นเหตุผลที่น่ารับฟัง และจริง ๆ แล้วต้องฟัง เพราะเราเป็นเด็กที่สุดตรงนั้น ผมยอมรับว่าต้องยอมเพราะเคารพนาย และเกรงใจครูบาอาจารย์ แต่ส่วนลึกจริง ๆ แล้ว อยากให้มีสมาคมนิติศาสตร์ให้ได้ และเชื่อว่าเมื่อมีสมาคมนิติศาสตร์แล้วก็จะเสริมเอื้อเกื้อกูลกับสมาคมสุโขทัยธรรมธิราชได้เป็นอย่างดี อย่างลูกกับพ่อ น้องกับพี่

       เวลาที่คณะของสมาคมสุโขทัยธรรมธิราช ไปทางไหน หากมีโอกาสและเวลา พ่อผมจะไปร่วมเดินทางด้วย แล้วแอบสอดแนม แอบถามใจนักศึกษากับบัณฑิต และเวลาผมไปสอนเสริมทุกแห่ง โดยเฉพาะตอนเป็นวิทยากรอบรมเข้มก็ถามใจกันเกือบทุกราย ทุกโอกาส บางทีก็พูดทิ้งไว้ให้คิด แต่บางแห่งดันเองเลยก็มี ทำไงได้ก็ใจคิดอย่างนี้ ใดรจะว่าดื้อก็ว่าเถอะ

       ทีนี้เมื่อเป้าหมายมีแล้ว ทำอย่างไรให้เป้าหมายสำเร็จ หลักพูทธธรรมคือ ต้องมีเหตุจึงเกิดผล จึงต้องย้อนผลไปหาเหตุ คือ ต้องหาทางให้เกิดชมรมนิติศาสตร์ขึ้นก่อน ซึ่งจะพฒนามาเป็นสมาคมได้ไม่ยากนัก ทีนี้จะมาเป็นชมรมนิติศาสตร์ได้ ก็ต้องตั้งกิจกรรม เพราะนิติศาสตร์ขึ้นมาก่อน เมื่อมีกิจกรรมเป็นตัวตั้ง ก็ต้องหาคนมาเป็นตัวตาม เลยนึกว่าเห็นจะมีกิจกรรมวันรพีเท่านั้น ที่จะปลุกเร้าได้ เพราะเป็นวันของพวกนิติศาสตร์เท่านั้น คนอื่นไม่รู้เรื่องด้วยและก็ไม่ผูกพันหรือภาคภูมิอะไรกับพวกเรา ผมพยายามติดต่อกลุ่มแกนจัดงานวันรพีปีก่อน ๆ รวมทั้งคุณชัยยง ดีสมโชค และคุณอำนาจ ธนะโสภณ จวนจะถึงวันรพีแล้ว ยังเงียบอยู่เพราะหลายท่านวุ่น ๆ กับงานมาก จึงตัดสินใจคุยกับกลุ่มของชมรมนักศึกษา มสธ. กรุงเทพฯ ( ของคุณวนิดา ตั้งกิจจารักษ์ คุณเสฐียร บุญมีรัตนโยธิน คุณอนุศักดิ์ ธะเศรษฐ และคุณวันเพ็ญ บรรจงศิลป์ ) กับกลุ่มวัดสุทัศน์ฯ ( ของคุณไชยา สุริยันต์) ซึ่งเป็นนักศึกษาที่ติดต่อกันอยู่เสมอ ๆ ปรากฏว่าคุยกันปุ๊บรู้เรื่องปั๊บ เพราะใจผมไปตรงกับใจของเขาทุกคนเลย คือ ทุกท่านที่เอ่ยนามนั้น คิดอยู่แล้ว แต่กลัว ๆ กล้า ๆ ว่างั้นเถอะ จึงยืนยันแบบปาวรณาตัวว่าผมจะออกแรงด้วยแบบใจถึงใจ เอาไงก็เอากัน แล้วขอให้ทางกลุ่มคุณไชยา สุริยันต์ โดยตอนนี้มี พันเอก ( พิเศษ ) บุญเถลิง อนะมาน เป็นหัวหน้ากลุ่ม ทำหนังสือมาที่สาขาวิชานิติศาสตร์ เป็นการแจ้งให้สาขาฯ  คืออาจารย์ทราบเป็นทางการไว้เป็นยันต์กันผีก่อน แล้วรีบเรียนให้อาจารย์ศรีราชา เจริญพานิชทราบ ในฐานะที่ท่านเป็นผู้ก่อตั้งสาขาวิชานิติศาสตร์ มสธ. มีบารมีมาก เพราะบัณฑิตและนักศึกษาโดยทั่วไปให้ความเคารพรัก ร่วมทั้งอาจารย์สุรินทร์ ถั่วทอง ( ต่อมาเปลี่ยนนามสกุลเป็น สฤษฏ์พงศ์ ) ในฐานะประธานกรรมการประจำสาขาวิชานิติศาสตร์ หรือคณบดีทราบโดยละเอียด โดยทางกลุ่มวัดสุทัศน์ฯ มีหนังสือลงวันที่  ๗  มิถุนายน  ๒๕๓๒  แจ้งขอจัดงานวันรพี  ในวันที่  ๗  สิงหาคม  ๒๕๓๒  เวลา ๑๘.oo - ๒๒.oo  น. ที่สโมสรทหารบก  สี่เสาเทเวศน์  กทม. จริง ๆ แล้ว อาจารย์สุรินทร์ ก็มีความคิดเรื่องชมรมนิติศาสตร์ และสมาคมนิติศาสตร์อยู่เหมือนกัน แต่ทำอะไรได้ไม่ถนัดนักเพราะเป็น
ประวัติความเป็นของสมาคม :
หน้า : 2
หน้า : 1 - 2 - 3 - 4 - 5 - 6 - 7 - 8 - 9